วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

คําราชาศัพท์  

ปัจจุบันเด็กไทยสมันใหม่ไม่รู้จักความหมายของคำราชาศัพย์และใช้คำราชาศัพย์ไม่เหมาะสมกับบุคคลในแต่ละระดับบุคคล ซึ่งคำราชาศัพย์จะแบ่งออกเป็นหมวดๆ คือ หมวดราชตระกูล หมวดร่างกาย หมวดเครื่องแต่งกาย หมวดเครื่องประดับและหมวดเครื่องใช้ทั่วไป คำราชาศัพย์จะใช้กับ พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทางคณะผู้จัดทำได้มีความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญของเรื่องคำราชาศัพย์ จึงได้จัดทำเว็บไซต์เกี่ยวกับเรื่องคำราชาศัพย์ขื้นมา เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา

เราได้รวบรวม ความหมาย วิธีการใช้ รวมทั้งที่มา และ คำราชาศัพท์หมวดต่างๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น หมวดเครื่องใช้ หมวดร่างกาย หมวดเครือญาติ หมวดอากัปกิริยา รวมทั้งหมวดอื่นๆ มาไว้ให้ทุกท่านศึกษาอย่างแจ่มแจ้ง หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่ทุกท่าน



คำราชาศัพท์ถ้าแปลตามรูปศัพท์ หมายถึง ศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ คำราชาศัพท์ใช้กับระมหากษัตริย์ เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์และคนสุภาพ ราชาศัพท์เป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่ชาวไทยใช้สื่อสารกับบุคคลดังกล่าวด้วยความ เชื่อและการยกย่องมาแต่โบราณกาล

คําราชาศัพท์ ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์

แต่ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย ซึ่งผู้ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยมี ดังนี้


  1. พระมหากษัตริย์ 
  2. พระบรมวงศานุวงศ์ 
  3. พระภิกษุ 
  4. ขุนนางข้าราชการ 
  5. สุภาพชน


คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้
เครื่องใช้
คำราชาศัพท์
เครื่องใช้
คำราชาศัพท์
เสื้อ

รองท้า

ของเสวย

ที่นอน

ม่าน, มุ้ง

ถาดน้ำชา

คนโทน้ำ

ผ้าอาบน้ำ

ปืน

เข็มขัด


ประตู

เตียงนอน

ผ้าเช็ดตัว
ฉลองพระองค์

ฉลองพระบาท

เครื่อง

พระยี่ภู่

พระวิสูตร พระสูตร

ถาดพระสุธารส

พระสุวรรณภิงคาร

พระภูษาชุบสรง

พระแสงปืน

รัดพระองค์ , ผ้าชุบสรง , ผ้าสรง พระปั้นเหน่ง

พระทวาร

พระแท่นบรรทม

ซับพระองค์ 
ผ้าเช็ดหน้า

กระจกส่อง

ข้าว


น้ำกิน

ตุ้มหู

ช้อน

ช้อนส้อม

ปิ่น

ไม้เท้า

หมาก

น้ำชา

เหล้า

กางเกง
ซับพระพักตร์

พระฉาย

พระกระยาเสวย( พระมหากษัตริย์ )

พระสุธารส

พระกุณฑลพาน

ฉลองพระหัตถ์

ฉลองพระหัตถ์ส้อม

พระจุฑามณี

ธารพระกร

พานพระศรี

พระสุธารสชา

น้ำจัณฑ์

พระสนับเพลา พระที่ (ราชวงศ์)



คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย
ร่างกาย -- คำราชาศัพท์
ร่างกาย -- คำราชาศัพท์
ผม -- พระเกศา
ไหปลาร้า -- พระรากขวัญ
หน้าผาก -- พระนลาฎ
ท้อง -- พระอุทร
หลัง -- พระขนอง
นิ้วมือ -- พระองคุลี
บ่า -- พระอังสะ
จุก -- พระโมฬี
นม -- พระถัน, พระเต้า
นิ้วชี้ -- พระดรรชนี
จมูก -- พระนาสิก
ฟัน -- พระทนต์
อก -- พระอุระ, พระทรวง
หู -- พระกรรณ
เอว -- บั้นพระองค์, พระกฤษฎี
ลิ้น -- พระชิวหา
ผิวหนัง -- พระฉวี
ข้อเท้า -- ข้อพระบาท
ปอด -- พระปับผาสะ
ปาก -- พระโอษฐ์
คาง -- พระหนุ
รักแร้ -- พระกัจฉะ
ดวงหน้า -- พระพักตร์
ผิวหน้า -- พระราศี 

ลิ้นไก่ -- มูลพระชิวหา
ไรฟัน -- ไรพระทนต์
ตะโพก -- พระโสณี
แข้ง -- พระชงฆ์
นิ้วก้อย -- พระกนิษฐา
คอ -- พระศอ
เนื้อ -- พระมังสา
เหงื่อ -- พระเสโท
ปัสสาวะ -- พระบังคนเบา
สะดือ -- พระนาภี
อุจจาระ -- พระบังคนหนัก
ขน -- พระโลมา
เถ้ากระดูก -- พระอังคาร
น้ำลาย -- พระเขฬะ
ข้อมือ -- ข้อพระหัตถ์
คิ้ว -- พระขนง
น้ำตา -- น้ำพระเนตร,
ต้นขา -- พระอุรุ พระอัสสุชล
หัวเข่า -- พระชานุ
ต้นแขน -- พระพาหุ
ขนระหว่างคิ้ว -- พระอุณาโลม
เงา -- พระฉายา
จอนหู -- พระกรรเจียก



คําราชาศัพท์หมวดเครือญาติ ราชตระกูล
คำศัพท์
คำราชาศัพท์ 
คำศัพท์
คำราชาศัพท์ 
พ่อ
พระชนก พระบิดา 
แม่
พระชนนีพระมารดา 
ปู่, ตา
พระอัยกาพระอัยกี 
ย่า, ยาย
พระอัยยิกา 
ลุง
พระปิตุลา 
ป้า
พระปิตุจฉา 
พี่ชาย
พระเชษฐา 
พี่สาว
พระเชษฐภคินี 
น้องชาย
พระอนุชา 
ลูกสะใภ้
พระสุณิสา 
พ่อผัว, พ่อตา
พระสัสสุระ 
พี่เขย, น้องเขย
พระเทวัน 
ผัว
พระสวามี 
ลูกเขย
พระชามาดา 

คําราชาศัพท์หมวดคำกิริยา
 คำศัพท์
คำราชาศัพท์
คำศัพท์
คำราชาศัพท์
ถาม
พระราชปุจฉา
ดู  
ทอดพระเนตร
ทักทายปราศรัย
พระราชปฏิสันถาร
ให้
พระราชทาน
ไปเที่ยว
เสด็จประพาส
อยากได้ 
ต้องพระราชประสงค์
ทาเครื่องหอม
ทรงพระสำอาง
เขียนจดหมาย 
พระราชหัตถเลขา
ไหว้
ถวายบังคม
แต่งตัว 
ทรงเครื่อง
อาบน้ำ
สรงน้ำ
มีครรภ์ 
ทรงพระครรภ์
ตัดสิน
พระบรมราชวินิจฉัย
หัวเราะ 
ทรงพระสรวล
นอน
บรรทม
รับประทาน 
เสวย
นั่ง
ประทับ
ป่วย
ประชวร
ไป
เสด็จ
ชอบ
โปรด


คําราชาศัพท์หมวดสรรพนาม 
คำที่ใช้แทน
คำราชาศัพท์ 
ใช้กับ
แทนชื่อผู้พูด (บุรุษที่ 1)
ข้าพระพุทธเจ้า 
กระผม, ดิฉัน 
พระมหากษัตริย์
ผู้ใหญ่, พระสงฆ์
แทนชื่อที่พูดด้วย (บุรุษที่ 2)
ใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท 
ใต้ฝ่าละอองพระบาท
พระมหากษัตริย์
พระบรมราชินี
พระบรมราชนนี
พระบรมโอสรสาธิราช
พระบรมราชกุมารี
แทนชื่อที่พูดด้วย
ฝ่าพระบาท 
เจ้านายชั้นสูง
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระคุณเจ้า 
พระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระคุณท่าน 
พระภิกษุสงฆ์ทั่วไป
แทนชื่อที่พูดด้วย
พระเดชพระคุณ 
เจ้านาย, หรือพระภิกษุที่นับถือ
แทนผู้ที่พูดถึง (บุรุษที่ 3)
พระองค์ 
พระราชา, พระพุทธเจ้า, เทพผู้เป็นใหญ่
แทนผู้ที่พูดถึง
ท่าน  
เจ้านาย, ขุนนางผู้ใหญ่, พระภิกษุ, ผู้ใหญ่ที่นับถือ
คําราชาศัพท์หมวดพระสงฆ์
 คำสามัญ
ราชาศัพท์ 
คำสามัญ
ราชาศัพท์ 
สรงน้ำ
อาบน้ำ  
จังหัน
อาหาร 
คำสอน(พระสังฆราช)
พระโอวาท 
คำสั่ง(พระสังฆราช)
พระบัญชา 
จำวัด
นอน
ฉัน
รับประทาน
ธรรมาสน์(พระสังฆราช)
พระแท่น
จดหมาย(พระสังฆราช)
พระสมณสาสน์
นิมนต์
เชิญ
อาพาธ
ป่วย
ที่นั่ง
อาสนะ
จดหมาย
ลิขิต
ปัจจัย
เงิน
ปลงผม
โกนผม
เรือนที่พักในวัด
กุฏิ
ห้องอาบน้ำ
ห้องสรงน้ำ
ประเคน
ถวาย
เพล
เวลาฉันอาหารกลางวัน
ห้องสุขา
ถาน,เวจกุฎี
อาหาร
ภัตตาหาร
มรณภาพ
ตาย
ประเคน
ถวาย
คำแจ้งถวายจตุปัจจัย
ใบปวารณา
อาหารถวายพระด้วยสลาก
สลากภัต
อังคาด
เลี้ยงพระ
ลิขิต
จดหมาย
สถานที่พระภิกษุใช้อาศัย
เสนาสนะ
เครื่องนุ่งห่ม
ไตรจีวร
ยารักษาโรค
คิลานเภสัช
คนรู้จัก
อุบาสก,อุบาสิกา
รูป
ลักษณนามสำหรัพระภิกษุ
องค์
ลักษณนามสำหรัพระพุทธรูป


การใช้คําราชาศัพท์ที่ควรสังเกตุ
การใช้คำว่า “พระ” “พระบรม” “พระราช”
“พระ” ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นอวัยวะ ของใช้ เช่นพระชานุ พระนลาฏ พระขนง เป็นต้น
“พระบรม”ใช้เฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น พระบรมราโชวาท พระบรมราชานุเคราะห์ พระปรมาภิไธย เป็นต้น
“พระราช” ใช้นำหน้าคำนาม แสดงว่าคำนามนั้นเป็นของ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เช่นพระราชประวัติ พระราชานุญาต พระราชวโรกาส เป็นต้น

การใช้คำว่า “ทรง” มีหลัก 3 ประการ คือ
นำหน้าคำนามสามัญบางคำทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่นทรงรถ ทรงดนตรี ทรงช้าง ทรงเครื่อง เป็นต้น
นำหน้าคำกริยาสามัญทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่นทรงวิ่ง ทรงเจิม ทรงออกกำลังกาย ทรงใช้ เป็นต้น
นำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้ เช่นทรงพระราชดำริ ทรงพระอักษร ทรงพระดำเนิน ทรงพระราชนิพนธ์ เป็นต้นคำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้ “ทรง” นำหน้า เช่นเสวย เสด็จ โปรด เป็นต้น

การใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามสำนวนไทย ไม่นิยมเลียนแบบสำนวนต่างประเทศ 
ถ้ามาต้อนรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องใช้ว่า ประชาชนมาเฝ้า ฯ รับเสด็จ คำว่า”เฝ้าฯรับเสด็จ” ย่อมาจาก”เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ”ไม่ใช้คำว่า”ถวายการต้อนรับ”

คำว่า”คนไทยมีความจงรักภักดี” หรือ”แสดงความจงรักภักดี” ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช่คำว่า “ถวายความจงรักภักดี”

การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผล
คำว่า “อาคันตุกะ” “ราชอาคันตุกะ” และ”พระราชอาคันตุกะ” ใช้ดังนี้ คือให้ดูเจ้าของบ้านเป็นสำคัญ เช่นแขกของพระมหากษัตริย์ ใช้คำว่า”ราช”นำหน้า ถ้าไม่ใช่แขกของพระมหากษัตริย์ก็ไม่ต้องมี”ราช”นำหน้า

ในการถวายสิ่งของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถ้าเป็นของเล็กยกได้ก็ใช้ “ทูลเกล้าฯ ถวาย”ถ้าเป็นของใหญ่ยกไม่ได้ใช้ “น้อมเกล้า ฯ ถวาย”


*คำศัพท์เพิ่มเติม*

คําราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้

 พระวิสูตรหรือพระสูตร หมายถึง ม่านหรือมุ้ง

 พระเขนย หมายถึง หมอน

 พระทวาร หมายถึง ประตู

 พระบัญชร หมายถึง หน้าต่าง

 พระสุวรรณภิงคาร หมายถึง คนโทน้ำ

 ฉลองพระหัตถ์ช้อน หมายถึง ช้อน 

 ฉลองพระหัตถ์ส้อม หมายถึง ส้อม

 ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ หมายถึง ตะเกียบ 

 แก้วน้ำเสวย หมายถึง แก้วน้ำ

 พระสาง หมายถึง หวี

 พระแสงกรรบิด หมายถึง มีดโกน 

 ซับพระองค์ หมายถึง ผ้าเช็ดตัว

 ซับพระพักตร์ หมายถึง ผ้าเช็ดหน้า

 ผ้าพันพระศอ หมายถึง ผ้าพันคอ 

 พระภูษา หมายถึง ผ้านุ่ง

 นาฬิกาข้อพระหัตถ์ หมายถึง นาฬิกาข้อมือ

 พระฉาย หมายถึง กระจกส่อง

 ธารพระกร หมายถึง ไม้เท้า

 พระแท่นบรรทม หมายถึง เตียงนอน

 พระราชอาสน์ หมายถึง ที่นั่ง 

 โต๊ะทรงพระอักษร หมายถึง โต๊ะเขียนหนังสือ

 พระราชหัตถเลขา หมายถึง จดหมาย

 ฉลองพระเนตร หมายถึง แว่นตา

 พระที่นั่งเก้าอี้หรือเก้าอี้ประทับ หมายถึง เก้าอี้นั่ง 

 พระเขนย หมายถึง หมอนหนุน

 เครื่องพระสุคนธ์ หมายถึง เครื่องหอม เช่น น้ำหอม แป้งผัดหน้า

 เครื่องพระสำอาง หมายถึง เครื่องประทินผิวหรือเครื่องสำอาง

 อ่างสรง หมายถึง อ่างอาบน้ำ

 กระเป๋าทรง หมายถึง กระเป๋าถือ

 พระแสงปนาค หมายถึง กรรไกร



คําราชาศัพท์หมวดร่างกาย

 พระอุระหรือพระทรวง หมายถึง อก

 พระหทัยหรือพระกมล หมายถึง หัวใจ

 พระอุทร หมายถึง ท้อง

 พระนาภี หมายถึง สะดือ

 พระกฤษฎีหรือบั้นพระองค์  หมายถึง สะเอว

 พระปรัศว์ หมายถึง สีข้าง

 พระผาสุกะ หมายถึง ซี่โครง

 พระเศียร หมายถึง  ศีรษะ

 พระนลาฏ หมายถึง หน้าผาก

 พระขนงหรือพระภมู หมายถึง คิ้ว

 พระเนตรหรือพระจักษุ หมายถึง ดวงตา

 พระนาสิกหรือพระนาสา หมายถึง จมูก

 พระปราง หมายถึง แก้ม

 พระโอษฐ์ หมายถึง ปาก  ริมฝีปาก

 ต้นพระหนุ หมายถึง ขากรรไกร

 พระกรรณ หมายถึง หูหรือใบหู

 พระพักตร์ หมายถึง ดวงหน้า

 พระศอ หมายถึง คอ

 พระรากขวัญ หมายถึง ไหปลาร้า

 พระอังสกุฏ หมายถึง จะงอยบ่า

 พระกร หมายถึง แขน

 พระกัประหรือพระกะโประ หมายถึง ข้อศอก

 พระกัจฉะ หมายถึง รักแร้

 พระหัตถ์ หมายถึง มือ

 ข้อพระกรหรือข้อพระหัตถ์ หมายถึง ข้อมือ

 พระปฤษฏางค์หรือพระขนอง หมายถึง หลัง

 พระโสณี หมายถึง ตะโพก

 พระที่นั่ง หมายถึง ก้น

 พระอูรุ หมายถึง ต้นขา

 พระเพลา หมายถึง ขาหรือตัก

 พระชานุ หมายถึง เข่า

 พระชงฆ์ หมายถึง แข้ง

 หลังพระชงฆ์ หมายถึง น่อง

 พระบาท หมายถึง เท้า

 ข้อพระบาท หมายถึง ข้อเท้า

 พระปราษณีหรือส้นพระบาท หมายถึง ส้นเท้า

 พระฉวี หมายถึง ผิวหนัง

 พระโลมา หมายถึง ขน

 พระพักตร์  หมายถึง ใบหน้า

 พระมังสา แปลว่า เนื้อ


คําราชาศัพท์หมวดอาหาร

 เครื่องเสวย หมายถึง ของกิน

 เครื่องคาว หมายถึง ของคาว

 เครื่องเคียง หมายถึง ของเคียง

 เครื่องว่าง หมายถึง ของว่าง

 เครื่องหวาน หมายถึง ของหวาน

 พระกระยาหาร หมายถึง ข้าว

 พระกระยาต้ม หมายถึง ข้าวต้ม

 ขนมเส้น หมายถึง ขนมจีน

 ผักรู้นอน หมายถึง ผักกระเฉด

 ผักสามหาว หมายถึง ผักตบ

 ผักทอดยอด หมายถึง ผักบุ้ง

 ฟักเหลือง หมายถึง ฟักทอง

 ถั่วเพาะ หมายถึง ถั่วงอก 

 พริกเม็ดเล็ก หมายถึง พริกขี้หนู    

 เห็ดปลวก  หมายถึง เห็ดโคน

 เยื่อเคย หมายถึง กะปิ

 ปลาหาง หมายถึง ปลาช่อน

 ปลาใบไม้  หมายถึง ปลาสลิด

 ปลายาว  หมายถึง ปลาไหล

 ปลามัจฉะ หมายถึง ปลาร้า

 ลูกไม้ หมายถึง ผลไม้        

  กล้วยเปลือกบางหรือกล้วยกระ หมายถึง กล้วยไข่

 ผลมูลละมั่ง หมายถึง ลูกตะลิงปลิง

 ผลอุลิด หมายถึง ลูกแตงโม

 ผลอัมพวา หมายถึง ผลมะม่วง        

 นารีจำศีล หมายถึง กล้วยบวชชี

 ขนมดอกเหล็กหรือขนมทราย หมายถึง ขนมขี้หนู

 ขนมสอดไส้ หมายถึง ขนมใส่ไส้

 ขนมทองฟู หมายถึง ขนมตาล

 ขนมบัวสาว หมายถึง ขนมเทียน



คําราชาศัพท์หมวดเครือญาติ

 พระอัยกา หมายถึง ปู่หรือตา

 พระอัยยิกา หมายถึง ย่าหรือยาย 

 พระปัยกา หมายถึง ปู่ทวดหรือตาทวด 

 พระปัยยิกา หมายถึง ย่าทวดหรือยายทวด 

 พระชนกหรือพระราชบิดา หมายถึง พ่อ

 พระชนนีหรือพระราชมารดา หมายถึง แม่

 พระสสุระ หมายถึง พ่อสามี 

 พระสัสสุ หมายถึง แม่สามี

 พระปิตุลา หมายถึง ลุงหรืออาชาย 

 พระปิตุจฉา หมายถึง ป้าหรืออาหญิง 

 พระมาตุลา หมายถึง ลุงหรือน้าชาย

 พระมาตุจฉา หมายถึง ป้าหรือน้าหญิง

 พระสวามีหรือพระภัสดา หมายถึง สามี 

 พระมเหสีหรือพระชายา หมายถึง ภรรยา

 พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย 

 พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว 

 พระอนุชา หมายถึง น้องชาย 

 พระขนิษฐา หมายถึง น้องสาว 

 พระราชโอรสหรือพระเจ้าลูกยาเธอ หมายถึง ลูกชาย 

 พระราชธิดา,  พระเจ้าลูกเธอ หมายถึง ลูกสาว 

 พระชามาดา หมายถึง ลูกเขย 

 พระสุณิสา หมายถึง ลูกสะใภ้ 

 พระราชนัดดา หมายถึง หลานชายหรือหลานสาว

 พระภาคิไนย หมายถึง หลานที่เป็นลูกของพี่สาวหรือน้องสาว

 พระภาติยะ หมายถึง หลานที่ลูกของพี่ชาย หรือน้องชาย

 พระราชปนัดดา หมายถึง เหลน 


คําราชาศัพท์หมวดกริยา

 พระราชดำรัส หมายถึง คำพูด

 ตรัส หมายถึง พูดด้วย

 เสด็จพระราชดำเนิน หมายถึง เดินทางไปที่ไกล ๆ

 เสด็จลง… หมายถึง เดินทางไปที่ใกล้ ๆ

 ทรงพระราชนิพนธ์ หมายถึง แต่งหนังสือ

 ทรงพระกาสะ หมายถึง ไอ

 ทรงพระสรวล หมายถึง หัวเราะ

 ทรงพระปรมาภิไธย หมายถึง ลงลายมือชื่อ

 ทรงสัมผัสมือ หมายถึง จับมือ

 ทรงพระเกษมสำราญ หมายถึง สุขสบาย

 ทรงพระปินาสะ หมายถึง จาม

 พระราชโองการ หมายถึง คำสั่ง

 พระราโชวาท หมายถึง คำสั่งสอน

 พระราชปฏิสันถาร หมายถึง ทักทาย

 มีพระราชประสงค์ หมายถึง อยากได้

 สรงพระพักตร์ หมายถึง ล้างหน้า

 ชำระพระหัตถ์ หมายถึง ล้างมือ

 พระราชปฏิสันถาร หมายถึง ทักทายปราศรัย

 เสด็จประพาส หมายถึง ไปเที่ยว

 พระราชปุจฉา หมายถึง ถาม

 ถวายบังคม หมายถึง ไหว้

 พระบรมราชวินิจฉัย หมายถึง ตัดสิน

 ทอดพระเนตร หมายถึง ดู

 พระราชทาน หมายถึง ให้

 พระราชหัตถเลขา หมายถึง เขียนจดหมาย     

 ทรงเครื่อง หมายถึง แต่งตัว

 ทรงพระอักษร หมายถึง เรียน เขียน อ่าน

 ประทับ หมายถึง นั่ง

 ทรงยืน หมายถึง ยืน

 บรรทม หมายถึง นอน


            ทั้งนี้ สำหรับคำว่า พระราชโองการ และพระราโชวาท หากใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีคำว่า "บรม" นำหน้าคำว่า "ราช" เสมอ